วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบนิเวศ







ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง โดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในบริเวณนั้น ๆ สู่สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท
1. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือปัจจัยทางกายภาพ (Physical Factor) ได้แก่ แสงสว่าง อุณหภูมิ น้ำและความชื้น กระแสลม อากาศ ความเค็ม ความเป็นกรด-เบส แร่ธาตุ ไฟแก๊ส
2. สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) หรือปัจจัยทางชีวภาพ (Biotic Factor)

ไบโอม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ไบโอมบนบก
ไบโอมบนบก (Terrestrial biomes) ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด ไบโอมบนบกที่สำคัญ ได้แก่ ไบโอมป่าดิบชื้น ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น ใบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ไบโอมสะวันนา ไบโอมป่าสน ไบโอมทะเลทราย ไบโอมทุนดรา เช่น
ป่าดิบชื้น (Tropical rain forest)
พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเอเชียตอนใต้ และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก ลักษณะของภูมิอากาศร้อนและชื้น มีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200 – 400 เซนติเมตรต่อปี ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายพันสปีชีส์ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก
ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate deciduous forest)
พบกระจายทั่วไปในละติจูดกลาง ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดี โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี และมีอากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้และต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อนฤดูหนาว และจะเริ่มผลิใบอีกครั้งเมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม รวมถึงไม้ล้มลุก
ป่าสน (Coniferous forest)
ป่าไทกา (Taiga) และป่าบอเรียล (Boreal) เป็นป่าประเภทเขียวชอุ่มตลอดปร พบได้ทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดา ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชียและยุโรป ในเขตละติจูดตั้งแต่ 45 – 67 องศาเหนือ ลักษณะของภูมิดากาศมีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน อากาศเย็นและแห้ง พืชเด่นที่พบได้แก่ พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (Pine) เฟอ (Fir) สพรูซ (Spruce) และเฮมลอค เป็นต้น
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland) หรือที่รู้จักกันในชื่อทุ่งหญ้าแพรี่ (Prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือและทุ่งหญ้า สเตปส์ (Steppes) ของประเทศรัสเซีย สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25 – 50 เซนติเมตรต่อปี ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำกสิกรและปศุสัตว์ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชนิดขึ้นอยู่ ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี่ด้วย
สะวันนา (Savanna) เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกาและพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ลักษณะของภูมิอากาศร้อน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้กระจายเป็นหย่อม ๆ ในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า
ทะเลทราย (Desert) พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน บางวันแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบ เก็บสะสมน้ำดี ทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายโกบี (Gobi) ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ทุนดรา (Tundra) เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน ฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของดินที่อยู่ต่ำกว่าจากผิวดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งถาวร ทุนดราพบเพียงตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเซีย พบพพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด ปริมาณฝนน้อยในฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินละลาย แต่เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้ในระยะสั้น ๆ พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคนด้วย

2. ไบโอมในน้ำ
ไบโอมในน้ำที่พบเป็นองค์ประกอบหลักใบไบโอสเฟียร์ประกอบด้วย ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes) และไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine Biomes) และพบกระจายอยู่ทั้งเขตภูมิศาสตร์ในโลกนี้
ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes) โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่งซึ่งได้แก่ ทะเลสาบ สระ หนอง หรือบึง กับแหล่งน้ำไหล ได้แก่ ธารน้ำไหลและแม่น้ำ เป็นต้น
ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine biomes) โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำเค็ม ซึ่งได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก และมีความลึกมากโดยเฉลี่ยถึง 3,750 เมตร ไบโอมแหล่งน้ำเค็มจะแตกต่างจากน้ำจืดตรงที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพสำคัญ นอกจากนี้ยังพบช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดกับน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน และเกิดเป็นแหล่งน้ำกร่อยซึ่งมักพบบริเวณปากแม่น้ำ


ความหลากหลายในระบบนิเวศ
ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดและรูปแบบต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่อยู่รวมกันบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบ ๆ ตัวได้ การปรับตัวเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วอายุหรือยาวนานหลายชั่วอายุ โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ตามกระบวนการวิวัฒนาการ คุณสมบัติและความสามารถของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกัน และมีปฏิกิริยาต่อกันและกันอย่างซับซ้อนในระบบนิเวศที่สมดุล โครงสร้างและคุณสมบัติของระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมทั้งมนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล เมื่อความเจริญและอารยธรรมของมนุษย์ได้มาถึงจุดสุดยอดและเริ่มเสื่อมลงเพราะมนุษย์เริ่มทำลายสิ่งมีชิตชนิดอื่นที่เคยช่วยเหลือสนับสนุนตนเองมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือการแสวงหาความสุขและความบันเทิงบนความทุกข์ยากของสิ่งมีชีวิตอื่น จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของสรรพสิ่งทั้งมวล
การที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ถูกทำลายสูญหายไปจากโลก จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเร่งให้อัตราการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เหลืออยู่เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ อันเนื่องมาจากการเสียดุลของระบบนิเวศนั้นเอง อัตราการสูญพันธุ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละระบบนิเวศ จะมีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่ที่มนุษย์จะนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงหาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาทดแทนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไป ทั้งนี้เพราะการสูญเสียแหล่งสะสมความแปรผันทางพันธุกรรม อันถือว่าเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าของประชากรสิ่งมีชีวิต นั้นจะเป็นการส่งเสริมให้มีการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศนั้น ๆ มากขึ้น


ระบบนิเวศแบบต่าง ๆ
ระบบนิเวศ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 แบบ คือ ระบบนิเวศบนบกและระบบนิเวศในน้ำ ระบบนิเวศแบบต่างในที่นี้จะกล่าวถึงระบบนิเวศ 4 แบบ เท่านั้น คือ
1. ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
2. ระบบนิเวศในทะเล
3. ระบบนิเวศป่าชายเลน
4. ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
ความสำคัญ
เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ เป็นแหล่งที่ให้น้ำในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจืด พืช เช่น จอก สาหร่าย แหน เป็นต้น สัตว์ เช่น หอย ปลาต่าง ๆ กุ้ง เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีพ
• ปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ปริมาณก๊าซออกซิเจน ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณแร่ธาตุ ความขุ่นในของน้ำ
• ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ชนิดและปริมาณของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
• ปัจจัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งเมื่อชะล้างลงสู่แหล่งน้ำจะไปทำลายสิ่งมีชีวิตในน้ำ น้ำบางชนิดทำให้มีผลกระทบต่อการถ่ายทอดพลังงานและสมดุลทางธรรมชาติในแหล่งน้ำ
สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ
• ผู้ผลิต ได้แก่ พืชต่าง ๆ ซึ่งในแหล่งน้ำมีทั้งที่เป็นพวกแพลงก์ตอน (Plankton) สาหร่ายต่าง ๆ เฟิร์น และพืชดอก
• ผู้บริโภค ได้แก่ พวกแพลงก์ตอนสัตว์ แมลงต่าง ๆ และสัตว์พวกกินซากอินทรีย์
• ผู้ย่อยสลาย มีทั้งพวกแบคทีเรีย เห็ด รา

ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
มี 2 ระบบ คือ ชุมชนในแหล่งน้ำนิ่ง และชุมชนในแหล่งน้ำไหล การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในชุมชนแหล่งน้ำไหลแรง
มีโครงสร้างสำหรับเกาะหรือดูดติดกับพื้นผิวอย่างมั่นคง สามารถสกัดเมืองเหนียวใช้ยึดเกาะ เช่น หอยมีรูปร่างเพรียว เพื่อลดความต้านทานของกระแสน้ำ มีรูปร่างแบนราบไปกับพื้นที่ผิวที่เกาะชอบว่ายทวนน้ำอยู่เสมอ เกาะติดกับพื้นผิวหรือซุกซ่อนตัวตามวัตถุใต้น้ำ

ระบบนิเวศในทะเล
ความสำคัญ
• เป็นแหล่งทรัยากรธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
• สิ่งมีชีวิตในทะเล ได้แก่ แพลงก์ตอน มีทั้งแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ เช่น ไดอะตอม กุ้งเคย ตัวอ่อนของเพรียงหิน และยังมีพวกสาหร่าย เช่น สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สิ่งมีชีวิตหน้าดินพบอยู่ทั่วไป เช่น ฟองน้ำ ปะการัง เพรียงหิน หอยนางรม ดอกไม้ทะเล ปลิงทะเล ดาวทะเล หอยแครง พลับพลึงทะเล
ระบบนิเวศในทะเล มี 3 ชุมน
• ชุมชนหาดทราย เป็นบริเวณที่ไม่เหมาะกับการอาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลทั่วไป เพราะมีสภาพแวดล้อมที่รุนแรง
• ชุมชนหาดหิน เป็นบริเวณที่ประกอบไปด้วยหินเป็นส่วนใหญ่
• ชุมชนแนวปะการัง ประกอบด้วยปะการังหลายชนิด มีรูปร่างต่าง ๆ กัน

ระบบนิเวศป่าชายเลน
ความสำคัญ
• เป็นแหล่งอาศัยของและขยายพันธุ์สัตว์น้ำเป็นตัวกลางทำให้เกิดความสมดุลระหว่างทะเลกับบก เป็นแหล่งพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายอย่าง
• เป็นแหล่งอาการที่มีความอุดมสมบูรณ์
• เป็นฉากกำบังลม ป้องกันการชะล้างที่รุนแรงที่เกิดจากลมมรสุมและเป็นเสมือนกำแพงป้องกันการพังทลายของดิน
• รากพันธุ์ไม้ช่วยกรองสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ในน้ำ
ลักษณะของป่าชายเลน
ป่าชายเลนเกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ ประกอบไปด้วยทราย โคลน และดิน บริเวณที่ติดกับปากแม่น้ำเป็นดิน ดินเหนียว ถัดไปเป็นดินร่วนและบริเวณที่ลึกเข้าไปจะมีทรายมากขึ้น นอกจากนี้ บริเวณต่าง ๆ ของป่าชายเลนยังแตกต่างในด้านของความเป็นกรด – เบส ความเค็ม รวมทั้งความสมบูรณ์ของดิน ซึ่งวัดได้จากปริมาณของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปแทสเซียม (K)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน
• พืช ได้แก่ โกงกาง แสมดำ โปรงขาว โปรงหนู รังกะแท้ ชะคราม ตะบูน ตีนเป็ดทะเล ตาตุ่มทะเล ปรงทะเล เทียนทะเล ชลู ลำพู ลำแพน ถั่วขาว ผักเบี้ยทะเล
• สัตว์ที่อยู่ตามหน้าดินตามชายเลน ได้แก่ ปลาตีน ปูเสฉวน ปูแสม ทากทะเล หอยขี้นก กุ้งดีดขัน ปูก้ามดาบ
• สัตว์ในดิน ได้แก่ ไส้เดือนทะเล หอยฝาเดียว

ระบบนิเวศป่าไม้
ความสำคัญ
• แหล่งรวมพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าต่าง ๆ ช่วยกำบังลมพายุ
• แหล่งต้นน้ำลำธาร ทำให้ฝนตกตามฤดูกาล
• ช่วยควบคุมอุณหภูมิบนโลก ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิวดินและอากาศ
• ผลิตก๊าซออกซิเจน (O2) และใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แหล่งสะสมปุ๋ยธรรมชาติ
• ลดความรุนแรงของน้ำป่าและการพังทลายของหน้าดินที่เกิดจากกระแสน้ำไหลบ่า
ลักษณะของป่าไม้และสังคมสิ่งมีชีวิตในป่าของประเทศไทย เช่น
• ป่าพรุ (Freshwater swamp forest) พบตามที่ลุ่มในภาคใต้ เป็นป่าที่มีน้ำจืดขังอยู่ตลอดปี และน้ำมีความเป็นกรดสูง ลักษณะของป่าแน่นทึบ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ขนาดเล็ก เช่น หวาย หมากแดง เป็นต้น
• ป่าสนเขา (Coniferous Forest Biomes) เป็นป่าเขียวตลอดปี ประกอบด้วยพืชพรรณพวกที่มีใบเรียวเล็ก เรียวยาวขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น มียอดปกคลุมทึบตลอดปี ไม่มีการผลัดใบ แสงผ่านลงมาถึงพื้นดินน้อย ดินเป็นกรด ขาดธาตุอาหาร สิ่งมีชีวิตที่พบ เช่น แมวป่า หมาป่า หมี เม่น กระรอกและนก
• ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest Biomes)
เป็นป่าที่มีฝนตกตลอดปี พืชเป็นพวกใบกว้างไม่ผลัดใบ ปกคลุมหนา มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยไม้ยืนต้นนานาชนิด พื้นดินมีต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน บริเวณพื้นดินเป็นพวกเฟิร์น หวาย ไม้ไผ่และเถาวัลย์


โซ่อาหารและสายใยอาหาร
โซ่อาหาร หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค ทำให้การถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากการกินต่อกัน ตัวอย่างเช่น
1. Decomposition food chain เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากการย่อยสลายซากอินทรีย์โดยพวกจุลินทรีย์ ได้แก่ เห็ดรา แบคทีเรีย และ Detritivorous animails เป็นระบบนิเวศที่มีสายใยอาหารของผู้ย่อยสลายมากกว่า เช่น ซากพืชซากสัตว์ ไส้เดือนดิน นก งู
2. Parasitism food chain เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากภาวะปรสิต ตัวอย่างเช่น ไก่ ไรไก่ โปโตซัว แบคทีเรีย
3. Predation food chain เป็นห่วงโซ่อาหารที่เป็นการกินกันของสัตว์ผู้ล่า (สัตว์กินพืช สัตว์กินเนื้อ) อาจเป็นพวกขุดกิน (Grazing food chain) ซึ่งห่วงโซ่เริ่มต้นที่สัตว์พวกขูดกินอาหารแบบผสม โดยมีการกินกันและมีปรสิต เช่น สาหร่ายสีเขียว หอยขม พยาธิใบไม้ นก

สายใยอาหาร
ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ จะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญคือการเป็นการทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในโมเลกุลของอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากพืช ซึ่งเป็นผู้ผลิต (Producer) สู่ผู้บริโภค (Herbivore) ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) กลุ่มผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) และผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร (Decomposer) ตามลำดับในห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) ในระบบนิเวศธรรมชาติระบบหนึ่ง ๆ จะมีห่วงโซ่อาหารสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนหลายห่วงโซ่ เป็นสายใยอาหาร (Food Web)
สปีชีส์ คือ เป็นเหยื่อกับผู้ล่าเหยื่อ (Prey Predator Interaction) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์
ส่วนไลเคนส์เป็นสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด คือ รากับสาหร่ายสีเขียว การอยู่ร่วมกันนี้ทั้งสาหร่ายและราต่างได้รับประโยชน์ กล่าวคือ สาหร่ายสร้างอาหารเองได้แต่ต้องอาศัยความชื้นจากรา ราก็ได้อาศัยอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้นและให้ความชื้นแก่สาหร่าย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันชั่วคราวหรือตลอดไป และต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เรียกว่า ภาวะที่พึ่งพากัน (Mutualism) แบคทีเรีย พวกไรโซเบียม (Rhizobium) ที่อาศัยอยู่ที่ปมรากพืชตระกูลถั่ว โดยแบคทีเรียจับไนโตรเจนในอากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนเตรตที่พืชนำไปใช้ ส่วนแบคทีเรียก็ได้พลังงานจากการสลายสารอาหารที่มีอยู่ในรากพืช นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างซีแอนีโมนีกับปูเสสวน มดดำกับเพลี้ยก็เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาฝ่ายหนึ่งได้รับ เพื่ออาศัยความชื้นและแร่ธาตุบางอย่างจากเปลือกต้นไม้เท่านั้น โดยต้นไม้ใหญ่ไม่เสียประโยชน์เรียกความสัมพันธ์เช่นนี้ว่า ภาวะอ้างอิง (Commensalism) ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ คือความสัมพันธ์ที่เรียกว่า ภาวะปรสิต (Parasitism) เช่น เห็บที่อาศัยที่ผิวหนังของสุนัข สุนัขเป็นผู้ถูกอาศัย (Host) ถูกเห็บสุนัขดูดเลือดจึงเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ส่วนเห็บซึ่งเป็นปรสิต (Parasite) ได้รับประโยชน์คือได้อาหารจากเลือดของสุนัขภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ยังเป็นที่อาศัยของปรสิตหลายชนิด เช่น พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวตืดในทางเดินอาหาร เป็นต้น
กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ได้แก่ แบคทีเรีย เห็ด ราจะสร้างสารออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตบางส่วนของสารที่ย่อยแล้ว จะถูกดูดกลับไปใช้ในการดำรงชีวิตด้วยกระบวนการดังกล่าว ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยย่อยสลายเป็นอินทรียสารกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์แบบนี้เรียกว่า ภาวะมีการย่อยสลาย (Saprophytism)



ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1141   31 มกราคม 2556

สารพันธุกรรม


สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA)

สารพันธุกรรม (อังกฤษ : Genetic Materials) คือ สารชีวโมเลกุล (Biomolecules) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลรหัสสำหรับการทำงานของของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เอาไว้ และเมื่อสิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์ เช่น เซลล์มีการแบ่งเซลล์ ก็จะมีการแบ่งสารพันธุกรรมนี้ไปยังเซลล์ที่แบ่งไปแล้วด้วย โดยยังคงมีข้อมูลครบถ้วน
สารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูง พบได้จาก นิวเคลียสของเซลล์ เรียกรวมว่า กรดนิวคลีอิค (Nucleic acids) โดยคุณสมบัติทางเคมีแบ่ง กรดนิวคลีอิคลงได้เป็นสองชนิดย่อย คือ อาร์เอ็นเอ (RNA – Ribonucleic acid) และ ดีเอ็นเอ (DNA – Deoxyribonucleic acid) สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีสารพันธุกรรมเป็น ดีเอ็นเอ, ยกเว้น ไวรัสบางชนิดเป็นอาร์เอ็นเอ (ไวรัสส่วนมาก มีสารพันธุกรรมเป็น ดีเอ็นเอ)
รหัสบนสารพันธุกรรม หากมีการถอดรหัส (Transcription) ออกมาได้ เรียกรหัสส่วนนั้นว่า ยีน (Gene)
สีสารพันธุกรรมแตกต่างกันสองชนิดคือ :

        -  DNA (deoxyribonucleic acid-DNA)

        -  RNA (ribonucleic acid-RNA)

สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ใช้ DNA สำหรับเก็บข้อมูลทางพันธุกรรม แต่ไวรัสบางชนิด เช่น รีโทรไวรัส (retrovirus) มี RNA เป็นสารพันธุกรรม ข้อมูลทางชีววิทยาในสิ่งมีชีวิต คือ รหัสพันธุกรรม (Genetic code) ที่บรรจุอยู่ใน DNA หรือ RNA ของมัน RNA ทำหน้าที่เป็นตัวขนถ่ายข้อมูลด้วย เช่น mRNA และทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ เช่น ไรโบโซม RNA ในสิ่งมีชีวิตที่ใช้ RNA เป็นรหัสพันธุกรรมของมันเอง
      สารพันธุกรรมของพวกโปรคาริโอตส์ จะถูกจัดอยู่ในโมเลกุลของ DNA รูปวงกลมง่ายๆ เช่นใน โครโมโซม (chromosome) ของแบคทีเรียซึ่งอยู่ในนิวคลอยด์ รีเจียน (nucleoid region) ของไซโทพลาสซึม
      สารพันธุกรรมของพวกยูคาริโอตส์จะถูกจัดแบ่งให้อยู่ในโมเลกุลที่เป็นเส้นตรงที่เรียกว่า โครโมโซม ข้างในนิวเคลียสที่แยกกันและพบว่ามีสารพันธุกรรมเพิ่มเติมในออร์แกเนลล์บางชนิด เช่น ไมโตครอนเดรีย และคลอโรพลาสต์(ดูเอ็นโดซิมไบโอติก ทีโอรี่ (endosymbiotic theory)) ในเซลล์มนุษย์จะมีสารพันธุกรรมจะมีสารพันธุกรรมอยู่ ในนิวเคลียส เรียกว่า นิวเคลียส จีโนม (nuclear genome) และในไมโตครอนเดรีย เรียกว่า ไมโตครอนเดรียล จีโนม (mitochondrial genome) นิวเคลียส จีโนม แบ่งเป็นโมเลกุลเส้นตรง DNA 46 เส้น หรือ 23 คู่ เรียกว่า โครโมโซมไมโตครอนเดรียล จีโนม จะเป็นโมเลกุล DNA รูปวงกลม ที่แยกจากนิวเคลียส DNA ถึงแม้ ไมโตครอนเดรียล จีโนมจะเล็กมากแต่มันก็รหัสสำหรับการสร้างโปรตีนที่สำคัญ สารพันธุกรรมจากภายนอกที่สังเคราะห์ขึ้นได้เองสามารถนำไปใส่ในเซลล์ได้เราเรียกกระบวนการนี้ว่า ทรานเฟกชั่น (transfection)
DNA
         ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลานและนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ    ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล, ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วย ฟอสฟอรัส และ ออกซิเจน), และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A), ไทมีน (thymine, T), ไซโตซีน (cytosine, C), และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง

                ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดิช มีสเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และ ฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับโครงสร้างของดีเอ็นเอ

สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA)
              สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid; DNA) เป็นกรดนิวคลิอิก (Nucleic acid) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอส่วนใหญ่อยู่ในรูปโครโมโซม (chromosome) วางตัวอยู่ในส่วนนิวเคลียสภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ

                1. การจำลองตัวเอง (DNA replication) ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตมีความสามารถสร้างและจำลองตัวมันเอง ขณะเกิดกระบวนการแบ่งเซลล์ เพื่อสร้างดีเอ็นเอที่เหมือนเดิม ทุกประการให้แก่เซลล์ใหม่

               2. การถ่ายทอดข้อมูลผ่านอาร์เอ็นเอ (transcription) ดีเอ็นเอสามารถถูกถอดรหัสเพื่อสร้างเป็นอาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid; RNA) อาร์เอ็นเอที่ได้นี้จะทำหน้าที่กำหนดการเรียงตัวของกรด  อะมิโนในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งโปรตีนจะถูกนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ และเป็นสารเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีหรือเอนไซม์ (enzyme) ในสิ่งมีชีวิต ด้วยหน้าที่ทั้ง 2 ประการของดีเอ็นเอ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถสืบทอดลักษณะประจำพันธุ์ และดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้

                ดีเอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า  นิวคลิโอไทด์ (nucleotide) ซึ่งเป็นสารประกอบไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพิวรีนเบส (purine) ได้แก่ ไทมีน (thymine; T) ไซโทซีน (cytosine; C) และกลุ่มไพริมิดีนเบส (pyrimidine) ได้แก่ อะดีนีน (adenine; A) กัวนีน (guanine; G) โดยสารประกอบไนโตรจีนัสเบสนี้จะรวมตัวกับน้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) และกรดฟอสฟอริก (phosphoric acid) เป็นนิวคลิโอไทด์อยู่ในดีเอ็นเอ นิวคลิโอไทด์จึงมีอยู่ 4 ชนิดตามชนิดของไนโตรจีนัสเบส คือ อะดีโนซีนไทรฟอสเฟต (adenosine triphosphate; ATP) กัวโนซีนไทรฟอสเฟต (guano sine triphosphate; GTP) ไซโทซีนไทรฟอสเฟต (cytosine triphosphate; CTP) และไทมิดีนไทรฟอสเฟต (thymidine triphosphate; TTP)

การเรียงลำดับของนิวคลิโอไทด์ ทั้ง 4 ชนิด ส่งผลต่อการเกิดความหลากหลาย และสร้างความแตกต่างในลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอ ซึ่งมีความจำเพาะในสิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดโครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบไปด้วย สายพอลินิวคลิโอไทด์ที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันของนิวคลิโอไทด์หลายๆหน่วยด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์  โดยเกิดจากสายพอลินิวคลิโอไทด์จำนวน 2 สายเรียงตัวขนานกันในทิศทางตรงกันข้าม เข้าคู่และพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาคล้ายบันไดเวียน ที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (doublehelix) การเข้าคู่หรือเข้าจับกันของสายพอลินิวคลิโอไทด์ทั้ง 2 สายเกิดจากการเข้าคู่กันระหว่างเบสพิวรีนและเบสไพริมิดีนด้วยพันธะไฮโดรเจน โดย A ทำการสร้างพันธะจำนวน 2 พันธะเข้าจับกับ T (A = T) และ G ทำการสร้างพันธะ จำนวน 3 พันธะเข้าจับกับ Cโดยมีน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตทำหน้าที่เป็นแกนอยู่ด้านนอกของโมเลกุล


ที่มา    http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/48/2/team/page/bio27.html 31 มกราคม 2556

การแบ่งเซลล์

การแบ่งเซลล์

               การแบ่งเซลล์เป็นกระบวนการสำคัญของสิ่งมีชีวิตที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโตพัฒนาการจากเซลล์หนึ่งเซลล์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะต่าง ๆ อย่างครบถ้วน โดยในการแบ่งเซลล์ เซลล์จะมีการถ่ายทอดโครงสร้างต่าง ๆ รวมถึงสารพันธุกรรมภายในเซลล์ไปสู่เซลล์ใหม่ จึงได้เซลล์ใหม่ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับเซลล์เดิม
การแบ่งเซลล์ในร่างกายของมนุษย์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส และการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ซึ่งมีลักษณะการแบ่งเซลล์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis)

 เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มปริมาณเซลล์ภายในร่างกาย (somatic cell) ของสิ่งมีชีวิต โดยในเซลล์ร่างกายจะมีจำนวนโครโมโซมอยู่ 2 ชุด (2n) หรือดิพลอยด์ (diploid) และเมื่อผ่านกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจนสมบูรณ์แล้ว จะได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ที่มีโครโมโซม 2 ชุดเท่าเดิม และมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมทุกประการ ทำให้มีจำนวนเซลล์ในร่างกายเพิ่มมากขึ้นสิ่งมีชีวิตจึงเจริญเติบโตมากขึ้น
ขั้นตอนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส สามารถจำแนกได้เป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้
1) ระยะอินเตอร์เฟส (interphase) เป็นระยะเตรียมความพร้อมของเซลล์ในระยะนี้จะมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ และเมื่อนำเซลล์มาย้อมสีแล้วมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นนิวคลีโอลัสภายในเคลียสได้อย่างชัดเจน แบ่งเป็นระยะย่อยได้ 3 ระยะ คือ
1. ระยะจี 1 (G1) หรือระยะก่อนสร้างดีเอ็นเอเป็นระยะที่มีการสะสมสารเอนไซม์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการสร้างสารพันธุกรรม
2. ระยะเอส (S) หรือระยะสร้างดีเอ็นเอ เป็นระยะที่มีการจำลองโครโมโซมเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชุด (chromosome duplication)
3. ระยะจี 2 (G2) หรือระยะหลังสร้างดีเอ็นเอ เป็นระยะที่มีการสร้างสารต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการแบ่งเซลล์ เช่น อาร์เอ็นเอ ดีเอ็นเอ โปรตีน เป็นต้น
2) ระยะการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitotic phase หรือ M phase) เป็นระยะที่มีการแบ่งนิวเคลียส ใช้ระยะเวลาในการเกิดช่วงสั้น ๆ แล้วจะตามด้วยการแบ่งไซโทพลาซึม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ
1. ระยะโพรเฟส (prophase) เป็นระยะที่โครมาทินม้วนขดตัว จนสามารถมองเห็นแท่งโครโมโซมอยู่เป็นคู่ยึดติดกันอยู่ที่เซนโทรเมียร์ (centromere) เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสหายไป
2. ระยะเมทาเฟส (metaphase) เป็นระยะที่โครโมโซมเคลื่อนตัวไปเรียงตามแนวกึ่งกลางของเซลล์มองเห็นแท่งโครโมโซมและศึกษาความแตกต่างของลักษณะโครโมโซมได้ชัดเจน
3. ระยะแอนาเฟส (anaphase) เป็นระยะที่แท่งโครโมโซมถูกดึงให้แยกออกจากกัน กลายเป็นแท่งเดียว 2 กลุ่ม อยู่แต่ละขั้วของเซลล์
4. ระยะเทโลเฟส (telophase) เป็นระยะที่โครโมโซมในแต่ละขั้วของเซลล์มีการคลายตัวเป็นเส้นยาว เยื่อหุ้มนิวเคลียสและเยื่อหุ้มนิวคลีโอลัสเริ่มปรากฏให้เห็น
เมื่อสิ้นสุดกระบวนการแบ่งนิวเคลียส เซลล์จะมีการแบ่งไซโทพลาซึมต่อไป ซึ่งในขั้นนี้จะมีความแตกต่างกันระหว่างเซลล์พืชกับเซลล์สัตว์ คือ ในกรณีเซลล์สัตว์ เซลล์จะมีการคอดเข้าไปในบริเวณกลางเซลล์จนแยกออกเป็น 2 เซลล์ ส่วนในเซลล์พืชจะมีการสร้างผนังกั้นเซลล์ (cell plate) ขึ้นกลางเซลล์แล้วขยายออกไปจนถึงเยื่อหุ้มเซลล์และผนังเซลล์เดิม เกิดเป็นเซลล์ใหม่จำนวน 2 เซลล์

2. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)



เป็นการแบ่งเซลล์ที่ทำให้เกิดการลดจำนวนโครโมโซมภายในนิวเคลียสลงเหลือเพียงชุดเดียว (n) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสนี้ เรียกว่า โกแนด (gonad) ในเพศหญิงจะพบเซลล์ชนิดนี้ในรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างไข่ (ovum) ส่วนในเพศชายจะพบเซลล์ชนิดนี้ในอัณฑะ (testis) ซึ่งทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (sperm)
กระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส จะมีการแบ่งเซลล์ต่อเนื่องกัน 2 รอบ เรียกการแบ่งเซลล์รอบแรกว่าไมโอซิส 1 และเรียกการแบ่งเซลล์รอบสองว่า ไมโอซิส 2 ซึ่งมีลักษณะการแบ่งเซลล์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ไมโอซิส 1 เป็นระยะแบ่งเซลล์ที่ทำให้ได้เป็นเซลล์ใหม่ 2 เซลล์ โดยแต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม เรียกว่า แฮพลอยด์เซลล์ (n) โดยมีขั้นตอนดังนี้
1) อินเตอร์เฟส 1 เป็นระยะเตรียมความพร้อมของเซลล์ เช่นเดียวกันกับระยะอินเตอร์เฟสในไมโทซิส
2) โพรเฟส 1 เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ โดยเริ่มตั้งแต่สายโครมาทินหดตัวพันกันหนาแน่นกลายเป็นแท่งโครโมโซม จากนั้นคู่โฮโมโลกัสโครโมโซมจะมาเข้าคู่กัน โดยในระหว่างการเข้าคู่กันคู่โฮโมโลกัสโครโมโซมจะมีการเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนของโครโมโซม ทำให้ลักษณะของสิ่งมีชีวิตบนโครโมโซมีการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นสาเหตุของการแปรผันต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต
3) เมทาเฟส 1 เป็นระยะที่คู่โฮโมโลกัสโครโมโซมมาเรียงตัวกันอยู่กลางเซลล์ จึงทำให้เห็นเป็นแถวโครโมโซมเรียงตัว 2 แถว คู่กัน
4) แอนาเฟส 1 เป็นระยะที่คู่โฮโมโลกัสโครโมโซมถูกดึงให้แยกตัวจากกันไปยังขั้วตรงข้ามของเซลล์ จึงเกิดเป็นโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นแฮพลอยด์
5) เทโลเฟส 1 เป็นระยะที่โครโมโซมถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มที่แต่ละขั้วของเซลล์ มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสและการแบ่งแยกส่วนไซโทพลาซึมจนเกิดเป็นเซลล์ลูก 2 เซลล์ ซึ่งมีโครโมโซมแบบแฮพลอยด์ และโครโมโซมจะมีการคลายตัวออกก่อนที่จะเข้าสู่ระยะไมโอซิส 2
2. ไมโอซิส 2 เป็นการแบ่งเซลล์ที่ทำให้จำนวนเซลล์ใหม่เพิ่มขึ้นจาก 2 เซลล์ ไปเป็น 4 เซลล์ โดยจะยังคงจำนวนชุดโครโมโซมเดิมที่เป็นแฮพลอยด์ การแบ่งเซลล์ในขั้นตอนนี้จะมีลักษณะคล้ายกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เว้นแต่ไม่มีการสังเคราะห์โครโมโซมใหม่ ดังนี้
1) โพรเฟส 2 เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายไปโครโมโซม หดสั้นมากขึ้น จนทำให้เห็นแท่งโครโมโซมได้อย่างชัดเจน
2) เมทาเฟส 2 โครโมโซมมาเรียงตัวในแนวกลางของเซลล์
3) แอนาเฟส 2 แท่งโครโมโซมถูกดึงแยกจากกันกลายเป็นแท่งเดียว ไปรวมกันอยู่ที่แต่ละขั้วของเซลล์
4) เทโลเฟส 2 โครโมโซมมารวมกันที่ขั้วเซลล์และมีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสจนได้ 4 นิวเคลียสแต่ละนิวเคลียสมีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ หลังจากนั้นจึงเกิดการแบ่งไซโตพลาซึมได้เป็นเซลล์ใหม่ 4 เซลล์ โครโมโซมในนิวเคลียสจึงเริ่มคลายตัวกลับเป็นสายยาว

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ดร.ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ . ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .